สภาวะหัวใจเต้นเร็ว เกิดจากสาเหตุอะไร อันตรายแค่ไหน ?

Free Cheerful black patient talking with doctor in hallway of hospital Stock Photo

ภาวะหัวใจเต้นเร็ว เป็นสภาวะที่หัวใจมีอัตราเต้นเร็วกว่าปกติ เกิน 100 ครั้งต่อนาที ทำให้รู้สึกเหนื่อยหอบ หายใจไม่สะดวก ใจเต้นแรง แม้ในตอนนั้นจะไม่ได้ทำกิจกรรมใดใดก็ตาม แม้บางคนอาจไม่ได้รับอันตรายถึงชีวิต แต่นี่ก็เป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่อาจก่อให้เกิดโรคหัวใจ และโรคประจำตัวอื่นๆ ได้เช่นกัน

ภาวะหัวใจเต้นเร็ว มีอาการอย่างไร ?

โดยปกติแล้ว ภาวะหัวใจเต้นเร็ว แบ่งความรุนแรงได้เป็น 2 ระดับ ดังนี้

  • อาการไม่รุนแรง

ภาวะหัวใจเต้นเร็วเกิน 100 ครั้งต่อนาที ความรู้สึกคือใจสั่น ใจหวิว แน่นอก จุกบริเวณลำคอ อาจมีอาการมึนงงร่วมด้วย จะเกิดขึ้นภายในไม่กี่นาที และสามารถหายไปเองได้

 

  • อาการรุนแรง

ภาวะหัวใจเต้นเร็วเกิน 150 ครั้งต่อนาที โดยจะเต้นเร็วและนานติดต่อกันหลายนาที บางรายอาจมีภาวะหัวใจเต้นเร็วเป็นชั่วโมง อาการคืออ่อนเพลียฉับพลัน เหงื่อออก มือสั่น หน้ามืด เป็นลม หมดสติ หนักสุดอาจถึงขั้นหัวใจวาย หรือเสียชีวิตได้ในทันที

ภาวะหัวใจเต้นเร็ว เกิดจากสาเหตุอะไร ?

สาเหตุภาวะหัวใจเต้นเร็ว แบ่งออกเป็น 2 สาเหตุหลักๆ ดังนี้

 

  1. ภาวะหัวใจเต้นเร็วเพราะระบบไฟฟ้าในหัวใจผิดปกติ

1.1 ภาวะหัวใจเต้นเร็วที่ห้องบน Supraventricular Tachycardia (STV) เกิดจากทางเดินของกระแสไฟฟ้าหัวใจเพิ่มขึ้นจากปกติ ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร และไปกระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็วจากภาวะปกติ

1.2 ภาวะหัวใจเต้นเร็วที่ห้องล่าง Ventricular Tachycardia (VT) เกิดจากการมีจุดกำเนิดที่ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นในหัวใจห้องล่าง

  1. ภาวะหัวใจเต้นเร็วเพราะถูกกระตุ้น

ภาวะหัวใจถูกกระตุ้น เกิดจากปัจจัยทางพฤติกรรม ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของไฟฟ้าหัวใจแบบข้างต้น โดยส่วนใหญ่แล้วมาจากพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มชา กาแฟ แอลกอฮอล์ มีความเครียดบ่อยๆ การรับประทานยาหรือฉีดยาที่กระตุ้นหัวใจ การเสียเลือดมากเกินไป ขาดน้ำ ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ เกิดภาวะไทรอยด์เป็นพิษ เบาหวาน หรือการออกกำลังกายหักโหมจนเหนื่อยแบบฉับพลัน ก็จะส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วได้

*แม้ว่าภาวะหัวใจเต้นเร็วจะเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่ภาวะหัวใจเต้นเร็วที่พบมากที่สุดคือ หัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะ ซึ่งมีโอกาสเกิดอัมพาตได้สูงถึง 10-15 % ต่อปี เนื่องจากมีลิ่มเลือดเกิดขึ้นในหัวใจจากการที่หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ และหลุดลอยออกไปอุดหลอดเลือดสมอง ทำให้เกิดสภาวะหัวใจอ่อนกำลังอันเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้

อันตรายจาก ‘ภาวะหัวใจเต้นเร็ว’

  • มีอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืดตาลาย ใจสั่น หายใจติดขัด แน่นหน้าอก หรือรุนแรงถึงขั้นเป็นลมหมดสติ
  • การสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายอาจไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
  • ผู้ป่วยอาจมีภาวะเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหลอดเลือดสมองอุดตันเพิ่มมากขึ้น

กรณีอัตราการเต้นของหัวใจเร็วกว่าปกติ จะส่งผลให้มีอาการเหนื่อยง่าย หัวใจเต้นเร็ว และอาจทำให้มีอาการเจ็บหน้าอก หน้ามืด เสี่ยงภาวะหัวใจวาย และเสียชีวิตเฉียบพลัน

 

กลุ่มคนที่อาจมีความเสี่ยงภาวะหัวใจเต้นเร็ว

  • ผู้ที่สูบบุหรี่
  • ผู้สูงอายุ
  • ผู้ที่มีความดันสูง
  • ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง
  • ผู้ป่วยเบาหวาน
  • ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ

ป้องกันภาวะหัวใจเต้นเร็วได้อย่างไร ?

  1. หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น

ไม่ควรดื่มชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มชูกำลัง หรือสูบบุหรี่มากจนเกินไป เพราะเป็นพฤติกรรมเสี่ยงที่ไปกระตุ้นให้เกิดภาวะหัวใจเต้นเร็ว

  1. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหักโหม

ควรออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ครั้งละ 30-40 นาที สัปดาห์ละ 3-4 วัน เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง แต่ไม่ควรออกแรงอย่างหักโหม เพื่อป้องกันการเหนื่อยแบบฉับพลัน เสี่ยงต่อหัวใจวาย

  1. หลีกเลี่ยงความเครียด

เพราะเมื่อเครียดร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนและสารสื่อประสาทประเภทต่างๆ ไปกระตุ้นหัวใจให้ ทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นเร็วหรือผิดจังหวะได้

  1. ตรวจสุขภาพประจำปี

สำหรับผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงการมีภาวะหัวใจเต้นเร็ว ควรให้ความสำคัญกับการตรวจสุขภาพประจำปี และพบแพทย์ทันทีเมื่อสังเกตเห็นความผิดปกติ

 

แนวทางการรักษาโรคที่เกิดจากภาวะหัวใจเต้นเร็วในปัจจุบันมีทั้งการรักษาด้วยยา, การจี้รักษาด้วยพลังงานความร้อนเท่าคลื่นวิทยุ โดยใช้สายสวนพิเศษ และการฝังเครื่องมือพิเศษ ซึ่งการรักษาแต่ละครั้งอาจมีค่าใช้จ่ายสูง การรับมือในเบื้องต้นคุณสามารถวางแผนสุขภาพในอนาคตโดยการทำประกันสุขภาพเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายหากเกิดเหตุการณ์ป่วยด้วยภาวะหัวใจเต้นเร็วแบบไม่คาดฝัน

แรบบิท แคร์ แหล่งรวมบริษัทประกันสุขภาพกว่า 30 บริษัทประกันชั้นนำ พร้อมเจ้าหน้าที่คอยให้ความช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง ให้คุณสามารถเปรียบเทียบแผนประกันสุขภาพที่ใช่อย่างตอบโจทย์ความต้องการมากที่สุด